วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

::คำสอนหลวงปู่ดู่ จำไ้ว้ให้ขึ้นใจ::

 รูปภาพ : หลวงปู่ดู่สอนศิษย์ "คนดีไม่ตีใคร"
หลวงปู่บอกว่า  คนดีเขาไม่ว่าใคร
ถ้าแกไปว่าเขาแกก็จะเป็นคนไม่ดี

ความหมายว่าคนดีไม่ตีใคร
ไม่ใช่เอาไม้หรือของแข็งๆ ไปตีเขา
แต่ท่านไม่ให้พูดจาไม่ดีด่าว่าใส่ร้าย
ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหายและ "ทุกข์ใจ"

หลวงปู่ดู่สอนศิษย์ "คนดีไม่ตีใคร"
หลวงปู่บอกว่า คนดีเขาไม่ว่าใคร
ถ้าแกไปว่าเขาแกก็จะเป็นคนไม่ดี

ความหมายว่าคนดีไม่ตีใคร
ไม่ใช่เอาไม้หรือของแข็งๆ ไปตีเขา
แต่ท่านไม่ให้พูดจาไม่ดีด่าว่าใส่ร้าย
ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหายและ "ทุกข์ใจ"

แผ่เมตตา ...อย่าให้ชักช้า

 รูปภาพ : ::: ปฏิปทาแห่งหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ :::

๗.  หลวงปู่ท่านไม่พยากรณ์มรรคผลให้ใคร ๆ
           
หลวงปู่จะไม่พูดทำนายทายทัก หรือ พูดพยากรณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพยากรณ์เรื่องมรรคผลของลูกศิษย์
หลวงปู่ไม่เคยบอกว่า ศิษย์คนไหนเป็นโสดา สกิทา อนาคา ฯลฯ
หลวงปู่ไม่เคยบอกว่า ใครปฏิบัติอีกกี่ชาติแล้วจะสำเร็จ
หลวงปู่ยืนยันว่า ท่านพยากรณ์ไม่ได้

ซึ่งหากเราพิจารณาให้ดีก็จะเห็นจริงตามท่าน
เพราะแค่จะรับรองตัวเองว่า ในแต่ละวันขอให้มีความขยันในการเจริญสติให้สม่ำเสมอ ก็ยังรับรองตัวเองไม่ได้เลย
นอกจากนี้ที่จะให้รับรองความศรัทธาของตัวเราเองที่มีต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์
ให้มั่นคงตลอดไปก็ยังไม่แน่นอนเลย บางวันศรัทธามาก บางวันศรัทธาน้อย
บางวันขยันปฏิบัติ บางวันขี้เกียจปฏิบัติ บางวันรักษาใจได้ดี บางวันเผลอสติจมจ่อมอยู่กับเรื่องโลก ๆ 
บางคนที่เคยเป็นผู้นำหมู่คณะ ก็ยังสามารถเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นได้เลย

เช่นนี้แล้ว ใครจะมารับรองใครได้
เว้นเสียแต่เป็นผู้ที่เที่ยงแท้ เช่นอย่างพระโสดาบันผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างไม่หวั่นไหวแล้วเท่านั้น
ที่พระพุทธองค์สามารถพยากรณ์ได้ว่า ไม่เกิน ๗ ชาติ ก็จะถึงฝั่งพระนิพพาน เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้ว หากยังมีความลุ่ม ๆ ดอน ๆ เอาแน่นอนไม่ได้
ยามขยันก็เพียรจัด ยามขี้เกียจก็ทิ้งเลย
ยังเป็นผู้ติดสุข ติดสบาย และสามารถหาเหตุผลเข้าข้างกิเลสตัวเองได้สารพัด
เช่นนี้แล้วจะพยากรณ์ได้อย่างไร

ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณดา ภรรยาของเฮียอู๋ (โยมอุปัฏฐากคนหนึ่งของหลวงปู่)
 ก็ได้เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในมุมที่บางคนอาจจะมองข้ามไป จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง

คุณดาเล่าอานิสงส์ของบทพุทธังอนันตังฯ (บทแผ่เมตตา) ที่หลวงปู่สอน
(บทเต็มๆคือ "พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโยโหตุ")
ว่าเธอได้ใช้เป็นประจำ และก็สังเกตว่ามันได้ผลมาก 

หลายครั้งที่เจอเหตุการณ์ที่สุนัขดุ ๆ จะมากัดเธอ
เธอก็ตั้งจิตแผ่เมตตาโดยว่าพุทธัง อนันตังฯ 

สุนัขนั้นก็กลับเป็นมิตร กระดิกหางให้

เธอยังเล่าว่าหลวงปู่เคยกำชับเธอว่า
"เวลามีใครมาขอส่วนบุญ จะมามัวว่า อิมินาปุญญกรรมเมนะฯ (บทกรวดน้ำใหญ่) มันจะไม่ทันกิน 

เพราะบางดวงจิตเขามีเวลาประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น"

อันนี้ไปสอดคล้องกับคำสอนหลวงพ่อฤาษี (พระราชพรหมยาน) 

ที่ท่านก็พูดสอนไว้ทำนองเดียวกัน
ท่านสอนให้ตระหนักว่าบางครั้งดวงวิญญาณเขาแอบหนี

หรือขออนุญาตนายนิรยบาลมาโมทนาบุญจากญาติ
หรือคนที่สามารถจะสงเคราะห์เขาได้ เพียงแค่ชั่วระยะเวลาสั้นมาก ๆ
หากเรามัวแต่ตั้งท่าไล่บทกรวดน้ำตั้งแต่ให้คุณพ่อ คุณแม่ ครูอาจารย์ 

เทพที่ดูแลพระอาทิตย์ พระจันทร์ ญาติมิตร ศัตรู ฯลฯ
ก็พอดีหมดเวลา เขาต้องกลับไปถูกจองจำชนิดกลับไปมือเปล่า น่าสงสาร

 คุณดาจึงบอกว่าบท พุทธังอนันตังนี้ หลวงปู่ตั้งใจให้มันสั้น 
เพื่อให้มันทันกันกับเหตุการณ์จำเพาะหน้า
เอาไว้เหตุการณ์ปกติไม่มีอะไร 

เราก็ค่อยว่าบทกรวดน้ำตามแบบเขา ซึ่งนิยมสวดกันหลังทำวัตรเย็น

ลูกศิษย์หลวงปู่บางคนเล่าว่า พอได้กลิ่นสาบสาง

 (ชนิดที่มักได้กลิ่นอยู่คนเดียว คนใกล้เคียงไม่ได้กลิ่นนั้นด้วย) โดยไม่รู้สาเหตุ
ก็มักตั้งจิตเจตนาไปที่ต้นแหล่งที่มาของกลิ่น

 แล้วก็แผ่เมตตา คือ พุทธัง อนันตังฯ ในทันที 
เรียกว่าปลอดภัยไว้ก่อน ไม่เสียหลายอะไร

นี้แหละ จึงว่าแผ่เมตตาในยามคับขัน ต้องทำให้เร็ว ให้ทันการณ์ 

ซึ่งนอกจากวิญญาณเขาจะได้รับส่วนบุญโดยตรงและโดยเร็วแล้ว
ตัวเราเองก็จะคุ้นเคยกับการเจริญสติ ตั้งสติ 

ระลึกถึงพระได้เร็ว ชนิดอัตโนมัติ จนกลายเป็นนิสัยอีกด้วย

credit :จากบทความของคุณ พรสิทธิ์
www.luangpordu.com

บทแผ่เมตตา หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

 รูปภาพ : โครงการบ้านพระดีดี (พรหมปัญโญบูชา) ขอนำภาพหลวงปู่ในหลากหลายอิริยาบถที่งดงาม น่าเลื่อมใสศรัทธา และประทับใจ เพื่อฝึกทรงภาพหลวงปู่ เพื่อเป็นพุทธานุสติ เช่นในท่านั่งซึ่งตามประวัติมีผู้ขอหลวงปู่ปิดทองที่ขาท่านแทนพระศรีอาริยเมตไตรยดังนั้น ภาพนี้จึงเป็นภาพหลวงปู่ทรงบารมีพระศรีอาริยเมตไตร หรือภาพหลวงปู่ดู่ ทรงยิ้มพิมพ์ใจ แผ่พลังแห่งพระเมตตา เพื่อมอบให้ท่านไว้เพื่อระลึกถึงและน้อมนำบุญบารมีแห่งหลวงปู่ที่ได้มีต่อพวกเรา ลูกหลานหลวงปู่ทุกๆคน

ทางโครงการจัดทำขึ้นจำนวน 100  ภาพ อัดด้วยกระดาษสีอาร์ตมันอย่างดี ขนาด 5*7 นิ้ว สำหรับ 100 ท่าน (แจกท่านละ 1 ภาพเท่านั้น)ที่ลงลำดับที่,ชื่อและนามสกุล ไว้ด้านล่างนี้

เมื่อทางโครงการยืนยันการลงชื่อของท่านแล้ว กรุณาจัดส่งซองจดหมาย ขนาด 5*7 นิ้ว จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง ติดแสตมป์ จำนวน  5 บาท (เพื่อส่งภาพกลับ) มาที่

โครงการบ้านพระดีดี 
เลขที่ 45/1 ถ.ตรัสวงค์ ต.ฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

ขอบารมีพระศรีรัตนตรัย บารมีแห่งองค์หลวงปู่ทวดหลวงปู่ดู่ เป็นที่สุด ขออิทธิผลใดๆ อันจะบังเกิดขึ้น จากการเผยแผ่รูปนี้ จงเป็นพลปัจจัยให้ท่าน ได้ผลดังพึงปรารถณา จงทุกๆประการ เทอญ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ ฯ

" ถ้าแกแผ่(บุญ)เองไม่ได้
แกนึกถึงข้านี่... ข้าแผ่ให้แกได้"

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
---------------------------------------
บทแผ่เมตตา หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

"พุทธัง อนันตัง 
ธัมมัง จักรวาลัง 
สังฆัง นิพพานะ
ปัจจะโยโหตุ"

:::ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ข้อ๑๑:::

รูปภาพ : :: คำสอนหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ::

“ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต”

สำหรับคนที่ไม่เคยปฏิบัติแล้วไม่รู้จะดูที่ไหนอะไร 
จะดูอะไร รู้สึกสับสน แยกไม่ถูก
เพราะไม่เคยดู ไม่เคยสังเกตอะไร 
เคยอยู่แต่ในความคิดปรุงแต่ง 
อยู่กับอารมณ์แต่แยกอารมณ์ไม่ได้ 
ยิ่งคนที่ยังไม่เคยบวช 
คนที่อยู่ในโลกแบบวุ่นวาย 
ยิ่งดูจิตของตนได้ยากฯ

จากหนังสือ พรหมปัญโญบูชา
หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ
วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๑๑. หลวงปู่ให้ใช้ประโยชน์จากพระเครื่อง แต่ไม่ได้สอนให้ลุ่มหลงจมจ่อมในพระเครื่อง           

หลวงปู่มี "อุบายสร้างพระ" ไว้สำหรับแจกให้ลูกศิษย์
เอาไปใช้เป็นสื่ออาราธนาพระ และให้กำไว้ในมือขณะนั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา
เพื่อเป็นเครื่องเหนี่ยวนำจิตให้มีพุทธานุสสติ เพื่อให้เข้าสู่ความสงบตั้งมั่นได้โดยเร็ว


พระกำนั่งมีหลากหลายรูปทรง
แต่ที่มีมากกว่าเพื่อน ดูเหมือนจะเป็นพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง
นอกจากพระกำนั่งที่แจกให้ฟรี ๆ แล้ว
ก็ยังมีพระในส่วนของวัดสะแกที่ทางวัดจัดสร้างเพื่อหารายได้บำรุงวัด
แล้วก็ส่วนของลูกศิษย์ที่พากันสร้าง มาขออนุญาตหลวงปู่ให้ช่วยอธิษฐานจิตให้
 แล้วนำไปแจกจ่ายกันเองก็มีไม่น้อย
บางคนเทพิมพ์พระพรหมมา ๓ ปี๊บ หลังจากหลวงปู่อธิษฐานให้เสร็จแล้ว
ก็อาจแบ่งถวายหลวงปู่ ๒ ปี๊บ นำกลับไปปี๊บหนึ่ง เป็นต้น           

หลวงปู่ท่านสอน "ไม่ให้สุดโต่งในเรื่องวัตถุมงคล"
กล่าวคือ ในเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ยังใหม่อยู่
ยังไม่พร้อมจะรับธรรมคำสอนที่เป็นแก่นสารสาระโดยตรง
ท่านก็ว่า ให้มาติดวัตถุมงคล...ก็ยังจะดีกว่าให้ไปติดวัตถุอัปมงคล
แต่พอมีใจโน้มเอียงเข้าในทางปฏิบัติมากขึ้น แล้วยังหาเช่าพระมาก ๆ

ท่านก็จะดุว่า จะเอาไปขายหรือยังไง
พระของท่านน่ะ ทำ (ปฏิบัติ) ให้มันจริง มีองค์เดียวก็พอแล้ว


จากบทความของ คุณสิทธิ์
http://www.luangpordu.com/

:::ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ข้อ๑๐:::

 รูปภาพ : :: คำสอนหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ::

การปฏิบัติธรรมเหมือนการปลูกต้นไม้ธรรม

ท่านว่า...ทำนี้มันยาก 
ต้องคอยบำรุงดูแลรักษาเหมือนกับเราปลูกต้นไม้

ศีล.....นี่คือ ดิน
สมาธิ......คือ ลำต้น
ปัญญา..........คือ ดอก ผล

ออกดอกเมื่อใดก็มีกลิ่นหอมไปทั่ว 
การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน 
ผู้รักการปฏิบัติต้องคอยหมั่นรดน้ำพรวนดิน 
ระวังรักษาต้นธรรม ให้ผลิดอก ออกใบ มีผลน่ารับประทาน

ต้องคอยระวัง  ตัวหนอน คือ โลภ โกรธ หลง 
มิให้มากัดกินต้นธรรมได้

อย่างนี้.........จึงจะได้ชื่อว่า"ผู้รักธรรม รักการปฏิบัติจริง"

จากหนังสือ พรหมปัญโญบูชา
หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ
วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๑๐. หลวงปู่สอนให้ทวนกระแส แต่ไม่ให้ต้านกระแส

หลวงปู่สอนให้ทุกคน "ทวนกระแสกิเลสของตน"
แต่ไม่ให้ไปคิดต้านหรือเปลี่ยนกระแสโลก หรือคิดเปลี่ยนใคร ๆ

เช่นอย่างที่วัดสะแก ชาวบ้านชาววัดเขาชอบจัดมหรสพตามธรรมเนียมนิยมของคนแถบนั้น
ซึ่งมักส่งเสียงรบกวนการทำภาวนาของท่านและศิษย์ที่กำลังปฏิบัติธรรม
ท่านก็ไม่ให้ถือเป็นอารมณ์ คงให้ทำภาวนาไปให้ได้ คล้ายฝึกทำภาวนาในท่ามกลางตลาดสด
เพราะจะให้คนวัดมีศรัทธาในการปฏิบัติเหมือนกันหมดทุกคน ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้

ใครเอา (สนใจปฏิบัติ) หลวงปู่ก็เมตตาชี้แนะให้ 
ใครไม่เอา หลวงปู่ก็ไม่ยัดเยียด
เว้นแต่จะส่อแวว ประกอบกับมีช่องมีจังหวะ ที่พอสอดแทรกให้แง่คิดแก่ผู้ทุกข์ผู้ยากบ้างเท่านั้น 

ท่านให้หลักว่า...
แก้ที่ตัวเราเป็นเรื่องธรรม มัวคิดแก้คนอื่น ปรับปรุงคนอื่น ปรับปรุงเรื่องนอก ๆ นั้นเป็นเรื่องโลก 
แก้ที่ตัวเรามีวันจบ (วันที่ชำระจิตจนหมดโกรธ โลภ หลง)
แต่การแก้ที่ภายนอก (แก้ไขเรื่องโลก ๆ) นั้นไม่มีวันจบสิ้น


เพราะโลกนั้นพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบเลย
การเข้าไปมีส่วนแก้ไขปรับปรุงภายนอกนั้น ก็ยังอาจเป็นสิ่งที่ต้องทำตามแต่บทบาท
เพียงแต่ต้องทำใจว่า แก้อย่างไรก็ไม่มีวันจบสิ้น ไม่มีวันบอกได้ว่าแก้ไขจนดีที่สุดแล้ว

และที่สำคัญที่สุด ต้องไม่ละเลย "การแก้ไขปรับปรุงตัวเอง"
ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้การเกิดมาชาติหนึ่งของเรานั้น...ไม่เป็นโมฆะ

:::ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ข้อ๙:::


รูปภาพ : หลวงปู่ดู่ได้เคยเมตตาสอนศิษย์ไว้ว่า ...

"ให้ดูในหลวงเป็นแบบอย่าง
ให้เดินตามที่ท่านสอน
เดินตามรอยท่าน
ท่านทำไว้เยอะ ตรองดูให้ดีเถอะ
มีเป็นร้อยเป็นพัน
เรื่องดีดีทั้งนั้น ..." 

ในมหามงคลที่ในหลวงทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี 
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙

พระองค์ท่านได้เสด็จออกมหาสมาคม 
ทรงรับการถวายพระพรชัยมงคล ณ สีหบัญชร 
พระที่นั่งอนันตสมาคม คนไทยต่างพร้อมใจกันเปล่งเสียง
 "ทรงพระเจริญ" อย่างกึกก้อง เป็นภาพที่ประทับใจ และก่อให้เกิดความตื้นตันใจจนหลายคนอดกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่

ภาพที่พระองค์ทรงโบกพระหัตถ์กับเหล่าพสกนิกร ยังตราตรึงอยู่ในหัวใจของคนไทยทั้งชาติ หากแต่พระราชดำรัสที่ท่านพระราชทานในวันนั้น หลายคนอาจลืมเลือนไป จึงขอนำมารวมไว้เป็นเครื่องเตือนใจ ดังความตอนหนึ่งว่า ...

"... น้ำใจไมตรีของประชาชนชาวไทยที่ร่วมกันแสดงออกทั่วประเทศ รวมทั้งที่พร้อมเพรียงกันมาในวันนี้ น่าปลาบปลื้มใจมาก เพราะแต่ละคนได้แสดงออกและตั้งใจมาด้วยความหวังดีจากใจจริง จึงขอขอบใจทุกๆ คน

จิตใจที่เปี่ยมด้วยความปรารถนาดี และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกคนทุกฝ่ายนี้ ทำให้ข้าพเจ้าเห็นแล้วมีกำลังใจมากขึ้น นึกถึงคุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคี ที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกัน รักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง

ประการแรก คือ การที่ทุกคน คิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน

ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ

ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกาและในระเบียบ แบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน

ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิด ความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล หากความคิด จิตใจ และความประพฤติปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกันในทางที่ดีที่เจริญนี้ ยังมีพร้อมอยู่ในกายในใจของคนไทย ก็มั่นใจได้ว่าประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ตลอดไปได้

จึงขอให้ท่านทั้งหลายในมหาสมาคมนี้ ทั้งประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้รักษาจิตใจและคุณธรรมนี้ไว้ให้เหนียวแน่น และถ่ายทอดความคิดจิตใจนี้กันต่อไปอย่าให้ขาดสาย เพื่อให้ประเทศชาติของเราดำรงยืนยงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ทั้งในปัจจุบันและในภายหน้า

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล จงคุ้มครองรักษาประเทศชาติไทยให้ปลอดพ้นจากภัยอันตรายทุกสิ่ง และอำนวยความสุข ความเจริญ สวัสดีให้เกิดมีแก่ประชาชนชาวไทยทั่วกัน.

หลวงปู่ดู่ได้เคยเมตตาสอนศิษย์ไว้ว่า ...

"ให้ดูในหลวงเป็นแบบอย่าง
ให้เดินตามที่ท่านสอน
เดินตามรอยท่าน
ท่านทำไว้เยอะ ตรองดูให้ดีเถอะ
มีเป็นร้อยเป็นพัน
เรื่องดีดีทั้งนั้น ..." 

ที่มาจาก หนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

๙. หลวงปู่มีปรกติถ่อมตัว และไม่ปรารถนาความเด่นดัง

บ่อยครั้งที่มีนิตยสารมาขอสัมภาษณ์และถ่ายรูปหลวงปู่
หลวงปู่ก็มักปฏิเสธเสมอทุกครั้งไป ท่านไม่ปรารถนาความเด่นดัง
ท่านว่าหากท่านดัง ก็คงไม่มีเวลาให้ลูกศิษย์ที่ใฝ่ใจในธรรม ได้ซักถามข้อธรรมะกับท่าน
อีกทั้งยังเป็นการทำให้สังขารขันธ์ของท่านเสื่อมโทรมเร็ว เพราะการที่ต้องรับแขกมาก ๆ ทุก ๆ วัน

นอกจากนี้ เวลาใครมากล่าวยกท่านอย่างไร ท่านก็จะยิ้มแล้วพูดไปในทางถ่อมตัวเสมอ
เช่น ใครว่าองค์ท่านสว่างไสวมาก หรือมีการรู้เห็นภายใน (ญาณ) เป็นที่อัศจรรย์ ฯลฯ
ท่านก็จะตอบทำนองว่า ท่านยังมืดอยู่เลย

บางครั้งมีคนขอสร้างรูปเหมือนท่าน หากเลี่ยงได้ท่านก็จะให้เลี่ยงไปสร้างรูปหลวงปู่ทวดแทน
โดยบอกว่า สร้างรูปครูอาจารย์คือหลวงปู่ทวดดีกว่า ดังเช่นเหรียญรุ่นเปิดโลก เป็นต้น

เคยสังเกตในเวลาที่มีเรื่องแจ้งว่า จะมีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมากราบนมัสการหลวงปู่
ก็ไม่เห็นหลวงปู่จะแสดงอาการตื่นเต้น หรือสั่งให้มีการจัดเตรียมอะไร ๆ เป็นพิเศษเพื่อต้อนรับแขกผู้ใหญ่
ทุกอย่างยังคงดำเนินไปตามปรกติธรรมดา
นี้จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สนับสนุนว่า หลวงปู่ท่านไม่ประสงค์จะเอาอกเอาใจใครเป็นพิเศษ
รวมทั้งยืนยันว่า ท่านไม่อยากเป็นคนเด่นคนดังอย่างใดเลยจริง ๆ

:::ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ข้อ๘:::

 รูปภาพ

๘. หลวงปู่ให้ความเคารพในสงฆ์

หลวงปู่จะวางตัวเป็นพระผู้น้อยในท่ามกลางคณะสงฆ์
ท่านให้ความเคารพกับคำว่า "สงฆ์" ท่านถือสงฆ์เป็นใหญ่ 
แม้กระทั่งปัจจัยและสิ่งของทุกอย่าง ที่มีคนนำมาถวายท่าน
ท่านก็จะให้ศิษย์รวบรวมส่งให้เจ้าอาวาส
เพื่อเข้าเป็นกองกลางของวัด (สงฆ์) ในทุก ๆ เย็น

:::ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ข้อ๗:::

 รูปภาพ
๗.  หลวงปู่ท่านไม่พยากรณ์มรรคผลให้ใคร ๆ
           
หลวงปู่จะไม่พูดทำนายทายทัก หรือ พูดพยากรณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพยากรณ์เรื่องมรรคผลของลูกศิษย์
หลวงปู่ไม่เคยบอกว่า ศิษย์คนไหนเป็นโสดา สกิทา อนาคา ฯลฯ
หลวงปู่ไม่เคยบอกว่า ใครปฏิบัติอีกกี่ชาติแล้วจะสำเร็จ
หลวงปู่ยืนยันว่า ท่านพยากรณ์ไม่ได้

ซึ่งหากเราพิจารณาให้ดีก็จะเห็นจริงตามท่าน
เพราะแค่จะรับรองตัวเองว่า
ในแต่ละวันขอให้มีความขยันในการเจริญสติให้สม่ำเสมอ
ก็ยังรับรองตัวเองไม่ได้เลย
นอกจากนี้ที่จะให้รับรองความศรัทธาของตัวเราเอง
ที่มีต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์
ให้มั่นคงตลอดไปก็ยังไม่แน่นอนเลย บางวันศรัทธามาก บางวันศรัทธาน้อย
บางวันขยันปฏิบัติ บางวันขี้เกียจปฏิบัติ บางวันรักษาใจได้ดี
บางวันเผลอสติจมจ่อมอยู่กับเรื่องโลก ๆ 
บางคนที่เคยเป็นผู้นำหมู่คณะ
ก็ยังสามารถเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นได้เลย

เช่นนี้แล้ว ใครจะมารับรองใครได้
เว้นเสียแต่เป็นผู้ที่เที่ยงแท้
เช่นอย่างพระโสดาบันผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างไม่หวั่นไหวแล้วเท่านั้น
ที่พระพุทธองค์สามารถพยากรณ์ได้ว่า
ไม่เกิน ๗ ชาติ ก็จะถึงฝั่งพระนิพพาน เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้ว หากยังมีความลุ่ม ๆ ดอน ๆ เอาแน่นอนไม่ได้
ยามขยันก็เพียรจัด ยามขี้เกียจก็ทิ้งเลย
ยังเป็นผู้ติดสุข ติดสบาย และสามารถหาเหตุผลเข้าข้างกิเลสตัวเองได้สารพัด
เช่นนี้แล้วจะพยากรณ์ได้อย่างไร  

:::ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ข้อ๖:::

รูปภาพ
๖. หลวงปู่วางตัวอย่างเป็นธรรมชาติ
           
หลวงปู่ท่านวางตัวเป็นธรรมชาติ ไม่แสร้งทำให้ใคร ๆ เห็นเป็นทำนองว่า ท่านสำรวมและเคร่ง
บางทีท่านหยิบบุหรี่มาสูบบ้างในยามที่ปลอดคน
บางทีท่านพูดชวนให้ผู้ฟังอารมณ์ดีหรือขำขันบ้าง 
แต่ท่านก็วางองค์ท่านพอเหมาะพอดี ประกอบกับด้วยบารมีธรรมเฉพาะองค์ท่าน
ดังนั้น ถึงแม้จะดูว่าท่านไม่ถือตัว
แต่ทุกคนก็ยังคงให้ความเคารพยำเกรง ไม่กล้าลามปามท่าน (ยกเว้นแต่ผู้ที่ยังหยาบอยู่มาก)

:::ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ข้อ๕:::

รูปภาพ
๕. หลวงปู่ไม่แบ่งแยกลูกศิษย์  
          
ด้วยลูกศิษย์หลวงปู่ที่ขยายวงกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน นักธุรกิจ ข้าราชการ ฯลฯ
ไม่ว่าจาก จ. อยุธยา  จ. กรุงเทพฯ หรือจังหวัดใด ๆ เกิดเป็นกลุ่มก้อนและคณะต่าง ๆ
บ้างก็นิยมมาตอนเช้า บ้างนิยมมาตอนสาย
บ้างนิยมมาตอนบ่ายแก่ ๆ บ้างนิยมมาตอนเย็น บ้างนิยมมาตอนค่ำ
ทำเอาหลวงปู่โง่นต้องขออนุญาตทำป้ายกำหนดเวลาที่งดรับแขกในช่วงบ่าย
ซึ่งติดได้ไม่นาน หลวงปู่ก็ให้เอาออก เพราะต้องการเปิดโอกาสให้คนมากราบนมัสการท่านได้โดยสะดวก

แต่ถึงหลวงปู่จะมีลูกศิษย์หลายหมู่หลายคณะ และมากันหลากหลายเวลา
หลวงปู่ก็ไม่เคยกล่าวเปรียบเทียบว่า กลุ่มนั้นดีกว่ากลุ่มนี้
ท่านยินดีในความพร้อมเพรียงกันในการปฏิบัติธรรม
ศิษย์คนใดขวนขวายในการปฏิบัติภาวนามาก ท่านก็จะให้ความเมตตาชี้แนะให้มากเป็นพิเศษ


:::ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญข้อ๔:::

 รูปภาพ : เราเป็นศิษย์รุ่นปลายอ้อปลายแขม (อยู่ห่างไกล) และมีความขี้เกียจเป็นปกติ ก่อนที่เราจะไปวัด เราไม่เคยสนใจทำอะไรจริงจังยาวนาน คือเราสนใจทำจริงจังแต่ก็ประเดี๋ยวเดียว เมื่อเราได้ไปวัด ด้วยความอยากเห็น อยากรู้เหมือนที่เพื่อนบางคนเขารู้ เขาเห็น เราจึงพยายามทำ แต่มันไม่ได้ ความพยายามของเราก็เลยลดน้อยถอยลงตามวันเวลาที่ผ่านไป แต่ความอยากของเรามันไม่ได้หมดไปด้วย พอขี้เกียจหนักเข้า เราจึงถามหลวงปู่ว่า

“หนูขี้เกียจเหลือเกินค่ะ จะทำยังไงดี”

เราจำได้ว่าท่านนั่งเอนอยู่ พอเรากราบเรียนถาม 
ท่านก็ลุกขึ้นนั่งฉับไว มองหน้าเรา แล้วบอกว่า

“ถ้าข้าบอกแกไม่ให้กลัวตาย แกจะเชื่อข้าไหมล่ะ”

เราเงียบเพราะไม่เข้าใจที่ท่านพูดตอนนั้นเลย

อีกครั้งหนึ่งปลอดคน เรากราบเรียนถามท่านว่า

“คนขี้เกียจอย่างหนูนี้ มีสิทธิ์ถึงนิพพานได้หรือไม่”

หลวงปู่ท่านนั่งสูบบุหรี่ยิ้มอยู่และบอกเราว่า

“ถ้าข้าให้แกเดินจากนี่ไปกรุงเทพฯ แกเดินได้ไหม”

เราเงียบแล้วยิ้มแห้งๆ ท่านจึงพูดต่อว่า

“ถ้าแกกินข้าวสามมื้อ มันก็มีกำลังวังชา เดินไปถึงได้ 
ถ้าแกกินข้าวมื้อเดียว มันก็พอไปถึงได้แต่ช้าหน่อย 
แต่ถ้าแกไม่กินข้าวไปเลย มันก็คงไปไม่ถึง ใช่ไหมล่ะ”

เรารู้สึกเข้าใจความข้อนี้ซึมซาบเลยทีเดียว 
แล้วหลวงปู่ท่านก็พูดต่อว่า

“เรื่องทำม้งธรรมะอะไรข้าพูดไม่เป็นหรอก 
ข้าก็เป็นแต่พูดของข้าอย่างนี้แหละ”

(อรพินท์) 
จาก หนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
๔. หลวงปู่เป็นผู้มีปฏิสันถารที่ดีแก่ผู้มาเยือน

หลวงปู่จะยิ้มและพูดทักทายกับผู้ที่มากราบท่านอย่างเสมอหน้ากันหมด
ยิ่งถ้าเป็นเด็กหนุ่มสาวสนใจซักถามข้อธรรม ท่านจะสนทนาธรรมด้วยความเมตตายิ่ง

นอกจากนี้ ท่านยังฝึกให้ศิษย์ทุกคนทุกชนชั้นรู้จักสลายทิฏฐิมานะอัตตาตัวตนลง
โดยการให้นั่งรับประทานอาหารที่หลวงปู่ฉันเหลือ
ร่วมกันแบบนั่งกับพื้นเรียงลำดับเป็นแถวยาว
มีกับข้าววางเรียงอยู่ตรงหน้ายาวไปจนสุดแนว
จนไม่รู้สึกว่า ใครสูงใครต่ำ ใครรวยใครจน
ทุกคนเสมอภาคกันหมดในทางธรรม

กับพระสงฆ์องค์เจ้า หลวงปู่ไม่เคยวางตัวชนิดว่าฉันเป็นเจ้าสำนักหรือเป็นผู้มีศักดาใด ๆ
พระรูปไหนมาเยี่ยมเยียน หลวงปู่ก็จะรินน้ำชายื่นให้ฉัน (ดื่ม) เสมอ 
ถ้าเป็นพระที่พรรษามากกว่า หลวงปู่ก็จะลุกขึ้นนั่งกราบ ดังเช่นหลวงปู่บุดดา เป็นต้น 

กับพระสงฆ์บางองค์ที่เหมือนจะรู้ใจกันค่อนข้างดี
เช่นหลวงปู่โง่น โสรโย จ. พิจิตร และหลวงพ่อเป้า เขมกาโม จ. นครสวรรค์ เป็นต้น
เมื่อมาถึงและฉันน้ำชาแล้ว บางทีต่างองค์ต่างก็นั่งเงียบ ๆ ไม่ค่อยได้พูดจาซักถามเท่าใดนัก
ไม่นานก็กราบลากัน

:::ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญข้อ๓:::

 รูปภาพ : :: คำสอนหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ::

“ให้หาพระเก่าให้พบนี่ซิ ของแท้ของดีจริง”

ผู้เขียนเรียนถามท่านว่า “พระเก่า” หมายความว่าอย่างไร

ท่านว่า “ก็หมายถึงพระพุทธเจ้าน่ะซิ 
นั่น ท่านเป็นพระเก่า พระโบราณ พระองค์แรกที่สุด”

จากหนังสือ พรหมปัญโญบูชา
หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ
วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๓. หลวงปู่ไม่เทศน์สอนยาว ๆ

เราจะไม่เคยเห็นภาพหลวงปู่นั่งบนธรรมาสน์แสดงธรรมอย่างเป็นทางการ
หรือแม้แต่แสดงธรรมที่ยืดยาวต่อเนื่องเป็นหลาย ๆ สิบนาทีหรือเป็นชั่วโมง ๆ
หลวงปู่ไม่เคยแสดงธรรมยาว ๆ  ท่านพูดถ่อมตัวเสมอ ๆ ว่า
ท่านเป็นพระบ้านนอก ธัมม้งธัมมะอะไรท่านพูดไม่เป็น เทศน์ไม่เป็น
เป็นแต่พูดอย่างของท่าน ตามประสาพระบ้านนอก

ดังนั้น เราจึงพบแต่คำปรารภธรรมสั้น ๆ ที่เป็นข้อคิดสะกิดใจ

สำหรับให้เอาไปคิด ไปตรึกตรองตาม  
ก็จะได้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งไปตามลำดับแห่งการเวลา 
และประสบการณ์ทางธรรม  เพราะโอวาทเพียงสั้น ๆ เท่านี้แหละ
แต่ทว่า ๑ ปีให้หลัง หรือ ๕ ปี ๑๐ ปีให้หลัง 

ความเข้าใจและความซาบซึ้งใจย่อมไม่เหมือนเก่า

:::ปฏิปทาแห่งหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ข้อ๒:::

รูปภาพ : ต้องทำจริง
 

 ในเรื่องของความเคารพครูอาจารย์ และความตั้งใจจริงในการปฏิบัติ หลวงปู่เคยบอกว่า
 “การปฏิบัติ ถ้าหยิบจากตำราโน้นนี้ (หรือ) แบบแผนมาสงสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาอาจารย์โน่นนี่ว่าอย่างนั้น อย่างนี้มา
 การปฏิบัติให้รู้ธรรม เห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง
 
 ข้าเป็นคนมีทิฏฐิแรง เรียนจากครูบาอาจารย์นี้ ยังไม่ได้ผลก็จะต้องเอาให้จริงให้รู้ ยังไม่ไปเรียนกับอาจารย์อื่น ถ้าเกิดไปเรียนกับอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริงให้รู้ ก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูอาจารย์”
๒. หลวงปู่สอนเน้นหนักลงที่การปฏิบัติให้มาก และไม่ให้มากพิธีรีตอง           

ทุกครั้งที่ใคร ๆ ไปกราบหลวงปู่ หลวงปู่ก็สอนเน้นหนักไปที่จุดเดียวนั่นก็คือ "การภาวนา" 
ได้แก่ การทำสมาธิ การหมั่นดูจิต รักษาจิต การหมั่นพิจารณา ฯลฯ
พิธีรีตองอะไรที่วุ่น ๆ วาย ๆ ไม่ต้องพูดถึง
แค่จะพับดอกบัวใส่แจกัน ท่านก็ยังแนะให้ไม่ต้องพับจะดีกว่า ปรุงแต่งให้มันน้อยที่สุด

เรื่องการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน
ท่านเน้นที่การตั้งจิตตั้งใจ มากกว่ารูปแบบภายนอก 
ดังนั้น จึงไม่ต้องลำบากหาแก้วหาน้ำ หลวงปู่นิยมให้ใช้วิธีกรวดแห้ง
คือ ให้ตั้งใจแผ่เมตตาผ่านการทำจิตให้เป็นสมาธิ แทนการกรวดน้ำ

นอกจากนี้ สำหรับคนที่ชอบการสะเดาะเคราะห์ หลวงปู่ก็ไม่มีพิธีรีตองอะไรให้
จึงไม่พ้นมาลงที่ การทำบุญและนั่งกรรมฐานภาวนา แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรแทน
ท่านให้ห่างสำนักทรง หรือพิธีสะเดาะห์เคราะห์ที่มักหลอกให้คนกลัว
แล้วก็เสียเงินเสียทองกับพิธีรีตองอะไรต่อมิอะไรรุงรังไปหมด
จนไม่รู้ว่าเป็นพุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณังคัจฉามิ
หรือจะเป็นเทพเทวาสรณังคัจฉามิ หรือจะเป็นพิธีกรรมสรณังคัจฉามิ

เพราะเหตุที่ท่านเน้นหนักที่การปฏิบัติ ดังนั้นท่านจึงให้ระวังว่า
"ความรู้จำ" จากการอ่านการฟัง   อาจจะมาบัง "ความรู้จริง" จากการปฏิบัติได้
หลวงปู่ท่านให้ใช้ความพินิจพิจารณาสิ่งรอบตัวให้มาก แทนการอ่านหนังสือธรรมะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาตัวเกิด แก่ เจ็บ ตาย
จากโรงเรียนที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่งนั่นก็คือ โรงพยาบาล